BX.in.th Bitcoin Exchange Thailand

31 กรกฎาคม 2556

หุ้นแตกพาร์ คือ

หุ้นแตกพาร์คืออะไร

   หุ้นแตกพาร์คืออะไร นี่เป็นคำถามที่หลายๆคนที่ยังใหม่อยู่กับตลาดหุ้นอาจสงสัยผมจึงอยากนำเรื่องนี้เก็บเข้า BOX เพื่อไว้ให้คนต่อๆไปเปิดออกมาอ่าน ปรกติเวลาซื้อหุ้นนั้นเราจะต้องซื้ออย่างน้อยครั้งละ 100 หุ้น (ยกเว้นถ้าราคาของหุ้นตัวนั้นสูงกว่า 500 ติดต่อกันมาเป็นเวลานานก็จะสามารถซื้อได้ทีละ 50 หุ้น)

   สมมุติบริษัทๆหนึ่งมีหุ้นอยู่ทั้งหมด 1000 หุ้น ตอนแรกราคาหุ้นละ 50 บาท ที่ราคานี้เวลาจะซื้อหุ้นบริษัทนี้เราจะต้องใช้เงินอย่างน้อยครั้งละ 5000 บาท (100 หุ้น) ถ้าผ่านไปซักระยะหนึ่งธุรกิจของบริษัทนี้ไปได้ดีแล้วราคาหุ้นขึ้นไปเป็นหุ้นละ 400 บาท ตอนนี้จะซื้อหุ้นบริษัทนี้ทีนึงต้องใช้เงินถึง 40,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นเงินไม่น้อยสำหรับนักลงทุนรายย่อยหลายๆคน
เมื่อเงินที่ต้องใช้ซื้อขายแต่ละครั้งค่อนข้างสูงหลายๆคนอาจจะเลิกซื้อขายหุ้นตัวนี้แล้วหันไปลงทุนตัวอื่นทำให้สภาพคล่อง (ปริมาณการซื้อขาย) ของหุ้นตัวนี้ลดลงอย่างมากซึ่งก็จะทำให้การซื้อขายลำบาก

   เพื่อแก้ปัญหานี้บริษัทก็อาจจะทำการ "แตกพาร์" คือหุ้นของทุกบริษัทนั้นจะมีราคาพาร์อยู่ สมมุติว่าราคาพาร์ของบริษัทนี้เป็นหุ้นละ 10 บาท บริษัทก็อาจจะทำการแตกพาร์เป็นเหลือหุ้นละแค่ 1 บาท เมื่อราคาพาร์ลง 10 เท่า จำนวนของหุ้นก็จะต้องเพิ่มขึ้น 10 เท่า เพื่อให้มูลค่ารวมของบริษัทเท่าเดิม 

จากเดิมที่บริษัทมีอยู่ทั้งหมด 1000 หุ้น ที่ราคาพาร์ 10 บาท ตอนนี้ก็จะเป็น 10,000 หุ้นที่ราคาพาร์ 1 บาท

   เพราะฉะนั้นตอนนี้ราคาตลาดของหุ้นก็ควรจะลดลงจากหุ้นละ 400 บาทเหลือหุ้นละ 40 บาท เพราะมีหุ้นมากกว่าเดิม 10 เท่า จากเดิมที่แต่ละหุ้นเท่ากับการเป็นเจ้าของบริษัท 0.1% ก็เหลือเพียงแค่ 0.01% สำหรับคนที่มีหุ้นอยู่แล้วก่อนแตกพาร์ก็จะได้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น 10 เท่า (คือเป็นเจ้าของบริษัทในสัดส่วนที่เท่าเดิม)

  มีอีกหนึ่งคำถามที่นักลงทุนชอบถามคือ หลังหุ้นแตกพาร์ราคาจะขึ้นหรือลง ? ซึ่งเท่าที่เคยเจอมาเป็นไปได้ทั้ง 2 กรณีสิ่งที่ผมตอบได้คือต้องดูตลาดในช่วงเวลานั้น ถ้าในเวลานั้นเทรนตลาดเป็นขาลงหลังจากหุ้นแตกพาร์ราคาหุ้นแตกพาร์ในตลาดอาจมีแนวโน้มปรับตัวลงต่อ กลับกันถ้าตลาดช่วงระหว่างหุ้นแตกพาร์เป็นเทรนขึ้นอารมณ์ในตลาดอาจมีการไล่ซื้อจนทำให้ราคาหุ้นแตกพาร์ไปต่อก็มี

"พูดง่ายๆการแตกพาร์ก็คือการทำให้จำนวนเงินที่ต้องใช้ในการซื้อขายหุ้นแต่ละครั้งลดลงเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับหุ้นนั่นเอง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น