การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินส่วนใหญ่จะวิเคราะห์ 4 ส่วนต่อไปนี้เป็นหลัก
1. Liquidity Ratio หรือ
การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน
เป็นอัตราส่วนใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น หรือ วัดสภาพคล่องของกิจการ
โดยอัตราส่วนที่ใช้หลักๆมีดังต่อไปนี้
1.1 Current
Ratio หรือ
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน เป็นการวัดถึงสภาพคล่องของ สินทรัพย์หมุนเวียน (CA)/หนี้สินหมุนเวียน(CL) ถ้าค่าที่ออกมาได้น้อยกว่า
1 แสดงว่าบริษัทนี้มีหนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน
ซึ่งต้องพิจารณาว่าทำไมถึงมีหนี้มากกว่าสินทรัพย์
ซึ่งโดยปกติอัตราส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนต่อมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน 2:1 ถึงจะเหมาะสม
1.2 Quick Ratio หรือ
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว
เป็นการวัดถึงสภาพคล่องของกิจการที่สามารถนำสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว
เพื่อมาจ่ายชำระหนี้ระยะสั้น โดย Quick
Ratio = (สินทรัพย์หมุนเวียน-สินค้าคงเหลือ)/หนี้สินหมุนเวียน หรือ CA-Inventory/CL
1.3 Account
Receivable Turnover หรือ
อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้
เป็นการวัดถึงความสามารถในการบริหารลูกหนี้ให้แปลงสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว โดย A/R Turnover = ยอดขายรวม/ลูกหนี้ถัวเฉลี่ย โดยที่ ลูกหนี้ถัวเฉลี่ย =
(ลูกหนี้ต้นงวด+ลูกหนี้ปลายงวด)/2 เช่นลูกหนี้การค้าปี 57 +
ลูกหนี้การค้าปี 58/2 จะออกมาเป็นลูกหนี้ถัวเฉลี่ย
จะบอกถึงการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อและเก็บเงินการลูกหนี้ได้เร็วขนาดไหน
1.4
Average Collection Period หรือ
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเก็บเรียกเก็บหนี้ โดยวิธีคำนวณ Average Collection period = 365
Day/Account Receivable การคำนวณผลที่ได้จะออกมาเป็นวันยิ่งจำนวนวันยิ่งน้อยยิ่งดี
เพราะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการเก็บหนี้
1.5 Inventory
Turnover หรือ
อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ โดยวิธีคำนวณ Inventory Turnover = ต้นทุนสินค้าขาย/สินค้าคงเหลือเฉลี่ย โดยที่ สินค้าคงเหลือเฉลี่ย =
(สินค้าต้นงวด+สินค้าปลายงวด)/2 โดยผลที่ได้จะบ่งบอกถึงการขายสินค้ายิ่งถ้าค่าที่ออกมามากแสดงว่ามีความสามารถในการขายมากหรือสินค้าเป็นที่นิยม
(กรณีถ้าบริษัทเป็นธุรกิจบริการต่างๆ
อาจไม่มีสินค้าคงเหลือก็ไม่สามารถใช้อัตราส่วนนี้ได้)
1.6 ระยะเวลาในการจำหน่ายสินค้า โดยวิธีคำนวณคือ 365 Day/Inventory Turnover โดยที่จำนวนวันยิ่งน้อยยิ่งดี
2. Leverage Ratio หรือ การใช้อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายการเงิน เพื่อให้ทราบถึงว่าแหล่งทีมาจากเงินทุนมาจากหนี้สินหรือเงินทุนของเจ้าของกิจการโดยอัตราส่วนที่นิยมใช้มีีดังต่อไปนี้
2.1 Debt to Equity Ratio หรือ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน วิธีคำนวณ Debt to Equity = หนี้สินรวม/ส่วนของเจ้าของ ถ้าค่าออกมามากแสดงว่าบริษัทมีการกู้ยืมเงินมาลงทุนมากว่าเงินทุนของเจ้าของ
2.2 Interest Coverage หรือ ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย วิธีคำนวณ Interest Coverage = {กำไรสุทธิ(Net Profit) + ภาษีเงินได้(Tax)-ดอกเบี้ยจ่าย(Interest)}/ดอกเบี้ยจ่าย(Interest)
2.3 Dividend Payout หรือ อัตราการจ่ายเงินปันผล วิธีคำนวณ Dividend Payout = เงินปันผลต่อหุ้น(Dividend/share)/กำไรสุทธิต่อหุ้น(EPS)
3. Efficiency Ration หรือ อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการทำงาน อัตราส่วนนี้จะบ่งบอกถึงความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อให้เกิดผลตอบแทนได้มากน้อยเท่าไหร่ โดยอัตราที่นิยมใช้มีดังนี้
3.1 Return On Asset (ROA) หรือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม วิธีคำนวณ ROA = กำไรสุทธิ(Net Profit)/สินทรัพย์รวม(Total Assets) โดยที่ถ้าค่ายิิ่งสูงยิ่งดี นั้นแสดงว่าสามารถในการทำกำไรของการใช้สินทรัพย์มีประสิทธิภาพที่ดี
3.2 Total Assets Turnover หรือ อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม วิธีคำนวณ Total Assets Turnover = ยอดขายสุทธิ(Sales or Revenue)/สินทรัพย์รวม(Total Assets) โดยถ้าค่าออกมากสูงแสดงว่าบริษัทมีประสิทธิภาพในการทำงานดีสามารถใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ได้เกินประสิทธิภาพดี แต่ถ้าค่าที่ได้ออกมาต่ำแสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ
4. Profitability Ratio หรือ ความสามารถในการทำกำไร เป็นอีกหนึ่งอัตราส่วนที่นักลงทุนควรดูเพราะถ้าบริษัทที่เราลงทุนไม่มีกำไรนั้นแสดงว่าเราอาจไม่ได้เงินปันผล โดยอัตราส่วนที่นิยมใช้มีดังนี้
4.1 Gross Profit Margin หรือ อัตรากำไรขั้นต้น วิธีคำนวณ Gross Profit Margin = ยอดขายสุทธิ(Sales or Revenue) - ต้นทุนขาย(Cost of Sales)/ขายสุทธิ หรือ กำไรขั้นต้น(Gross Profit Margin/ขายสุทธิ(Sales or Revenue) โดยที่ค่ายิ่งสูงยิ่งดีแต่ในกรณีที่ติดลบแสดงว่ากำไรขั้นต้นขาดทุน
4.2 Net Profit Margin หรือ อัตรากำไรสุทธิ วิธีคำนวณ Net Profit Margin = กำไรสุทธิ(Net Profit)/ขายสุทธิ(Sales or Revenue) โดยที่ค่ายิงสูงยิ่งดีแต่ในกรณีที่ติดลบแสดงว่ากำไรสุทธิหลังหักภาษีขาดทุน
4.3 Return On Equity (ROE) หรือ ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น วิธีคำนวณ Return On Equity(ROE) = กำไรสุทธิ(Net Profit)/ส่วนของผู้ถือหุ้นหรือส่วนของเจ้าของ(Equity) โดยที่ค่าออกมาสูงแสดงว่าจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจากการดำเนินงานของกิจการนั้นสูง ประสิิทธิภาพในการหากำไรของบริษัท
3.2 Total Assets Turnover หรือ อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม วิธีคำนวณ Total Assets Turnover = ยอดขายสุทธิ(Sales or Revenue)/สินทรัพย์รวม(Total Assets) โดยถ้าค่าออกมากสูงแสดงว่าบริษัทมีประสิทธิภาพในการทำงานดีสามารถใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ได้เกินประสิทธิภาพดี แต่ถ้าค่าที่ได้ออกมาต่ำแสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ
4. Profitability Ratio หรือ ความสามารถในการทำกำไร เป็นอีกหนึ่งอัตราส่วนที่นักลงทุนควรดูเพราะถ้าบริษัทที่เราลงทุนไม่มีกำไรนั้นแสดงว่าเราอาจไม่ได้เงินปันผล โดยอัตราส่วนที่นิยมใช้มีดังนี้
4.1 Gross Profit Margin หรือ อัตรากำไรขั้นต้น วิธีคำนวณ Gross Profit Margin = ยอดขายสุทธิ(Sales or Revenue) - ต้นทุนขาย(Cost of Sales)/ขายสุทธิ หรือ กำไรขั้นต้น(Gross Profit Margin/ขายสุทธิ(Sales or Revenue) โดยที่ค่ายิ่งสูงยิ่งดีแต่ในกรณีที่ติดลบแสดงว่ากำไรขั้นต้นขาดทุน
4.2 Net Profit Margin หรือ อัตรากำไรสุทธิ วิธีคำนวณ Net Profit Margin = กำไรสุทธิ(Net Profit)/ขายสุทธิ(Sales or Revenue) โดยที่ค่ายิงสูงยิ่งดีแต่ในกรณีที่ติดลบแสดงว่ากำไรสุทธิหลังหักภาษีขาดทุน
4.3 Return On Equity (ROE) หรือ ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น วิธีคำนวณ Return On Equity(ROE) = กำไรสุทธิ(Net Profit)/ส่วนของผู้ถือหุ้นหรือส่วนของเจ้าของ(Equity) โดยที่ค่าออกมาสูงแสดงว่าจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจากการดำเนินงานของกิจการนั้นสูง ประสิิทธิภาพในการหากำไรของบริษัท
จะเห็นว่าในอัตราส่วนในแต่ละตัวจะมีความสำคัญไม่เหมือนกันสำหรับนักลงทุนที่ไม่ได้จบบัญชีหรือการเงินมา อาจจะงงๆว่าสินทรัพย์หมุนต้องไปดูที่ไหน กำไรขั้นต้นกับกำไรสุทธิต่างกันอย่างไร โดยปกติในการวิเคราะห์งบการเงิน เราจะนำค่ามาจาก งบดุล(Balance Sheet) และ งบกำไรขาดทุน(Profit&Loss) นักลงทุนที่เพิ่งหัดอ่านงบ HOONINBOX แนะนำให้อ่านงบบริษัทเล็กๆก่อนเพราะรายละเอียดไม่เยอะลองเริ่มดูงบการกลุ่มบริษัทในตลาด MAI ก่อนก็ได้นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น