ในการลงทุนปัจจุบันได้มีช่องทางให้นักลงทุนเลือกลงทุนหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการลงทุนอนุพันธ์ หุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือแม้กระทั้งประกันก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการลงทุน หลายๆคนคงเข้าใจกับประกันแบบออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์รวมถึงประกันอุบัติเหตุอยู่แล้ว บริษัทประกันชีวิตได้คิดประกันรูปแบบใหม่เพื่อตอบสนองนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ที่เรียกว่า "ประกันแบบยูนิตลิงค์ - Unit Link"
กรมธรรม์ Unit Link คือ กรรมกรรม์ที่บริษัทประกันชีวิตขายควบกับกองทุนรวม ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้รับทั้งความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันชีวิต และได้ลงทุนในกองทุนรวม โดยเงินที่จ่ายซื้อกรมธรรม์ Unit Link จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 เป็นค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับการให้ความคุ้มครองตามที่กรมธรรม์ประกันชีวิตกำหนด ซึ่งบริษัทประกันชีวิตจะนำเงินส่วนนี้ไปบริหารเอง และบริษัทจะเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการนำเบี้ยประกันไปลงทุนในหลักทรัพย์และะทรัพย์สินประเภทต่างๆ
ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่จัดสรรเข้าไปเป็นส่วนเงินลงทุนตามสัดส่วนที่ระบุในกรมธรรม์ ซึ่งบริษัทประกันชีวิตจะนำไปซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามคำสั่งของผู้เอาประกัน โดยบริษัทที่รับจัดการเงินดังกล่าวจะออกหน่วยลงทุนให้แก่ผู้เอาประกันภัย
ความแตกต่างระหว่างประกันชีวิตกับประกันแบบ Unit Link
อย่างไรก็ตามอยากให้นักลงทุนที่คิดจะลงทุนในประกันแบบยูนิตลิงค์ ควรอ่านหนังสือชี้ชวนว่ากรมธรรม์ที่เราถือลงทุนในกองทุนอะไรบ้าง และดูแนวโน้มการบริหารของกองทุนเหล่านั้นก่อนการลงทุนซึ่งรายละเอียดลึกๆแต่ละกองทุนนักลงทุนสามารถหาข้อมูลได้จาก Morning Star Thailand
กรมธรรม์ประกันชีวิตทั่วไป | กรมธรรม์ Unit Link | |||
1. ผลตอบแทน | Fixed | Fiexble | ||
2. ความเสี่ยง | เงินต้นคืน 100% ถ้าถือกรมธรรม์จนครบสัญญา (กรณีกรมธรรม์สะสมทรัพย์) | เงินต้นคืนบางส่วน หรือมากกว่า (ขึ้นกับผลลัพทธ์จากการลงทุน) |
||
3. สิทธิประโยชน์ทางภาษี | สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 50,000 บาท | สามารถลดหย่อนภาษีได้เฉพาะส่วน เบี้ยประกันชีวิตไม่เกิน 50,000 บาท |
||
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | สำนักงาน คปภ. | สำนักงาน คปภ. | ||
ตัวแทนประกันชีวิต | สำนักงาน ก.ล.ต. | |||
บริษัทประกันชีวิต | ตัวแทนประกัน | |||
บริษัทประกันชีวิต | ||||
บริษัทจำกัด | ||||
5. ผู้ขาย | สอบผ่านการเป็นตัวแทนประกันชีวิต | ขึ้นทะเบียนกับสำนักงาน คปภ. | ||
ขึ้นทะเบียนกับสำนักงาน คปภ. | อบรมและสอบ IP หรือ Single License |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น